MOTOR NEWS

ผ่อนหนักทำไม จัดไปคนละครึ่ง  SUZUKI CELERIO ขับวันนี้ สบายกระเป๋า  ซูซูกิช่วยผ่อน 50% นานสูงสุด 20 เดือน หรือเริ่มต้นเบาๆ เดือนละ 3,302 บาท นาน 99 เดือน พร้อมฟรีประกันภัยชั้น 1

นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดยานยนต์ในช่วงต้นปี 2568 แม้จะยังไม่ถือว่าคึกคักมากนัก เนื่องจากผู้บริโภคยังคงเผชิญกับปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือน และความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม การจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา สามารถสร้างแรงกระตุ้นให้กับตลาดได้ในระดับหนึ่ง โดยมียอดจองรถยนต์รวมภายในงานสูงถึง 77,379 คัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการในการซื้อรถยนต์ใหม่อยู่ไม่น้อย

โตโยต้าประกาศความร่วมมือ  “นวัตกรรมจัดการขยะอาหาร” ผ่านเครือข่าย Food Waste Platform  เพื่อลดปริมาณขยะและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

นายนันทวัฒน์ ศรีวรัตน์อัชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมประกาศเจตนารมณ์ร่วมขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหาร ผ่านเครือข่าย Food Waste Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้และแนวทางการจัดการขยะอาหารอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นางสาวปรียาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พร้อมหน่วยงานพันธมิตรรวม 29 องค์กร เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฟอร์ดออกแคมเปญ ‘โปรยิ้มกว้าง’ ข้อเสนอสุดยืดหยุ่นเพื่อเกษตรกร  ดาวน์เริ่มต้นเพียง 5% ผ่อนนานสูงสุด 84 เดือน

ฟอร์ด ประเทศไทย เดินหน้าเคียงข้างเกษตรกรไทย เปิดตัวแคมเปญ ‘โปรยิ้มกว้าง’ ด้วยเงื่อนไขการชำระค่างวดที่ยืดหยุ่น ออกแบบมาเพื่อสอดรับกับรอบฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรและการจัดการสภาพคล่องของครัวเรือนอย่างแท้จริง ลูกค้าเกษตรกรที่สนใจซื้อรถยนต์ฟอร์ดทุกรุ่น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ธันวาคม 2568 สามารถร่วมแคมเปญสินเชื่อพิเศษ เลือกชำระค่างวดล่วงหน้าได้แบบ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน ดาวน์เริ่มต้นเพียง 5% ผ่อนนานสูงสุด 84 เดือน

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ จับมือพันธมิตร เปิดตัวโครงการ “TRUST” ร่วมขับเคลื่อนความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และพันธมิตรหลายภาคส่วน ได้แก่ โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเปิดตัวโครงการ TRUST (Thailand Road Users Safety through Technology) อย่างเป็นทางการ เพื่อทดสอบแนวทางในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และพันธมิตรหลายภาคส่วน ได้แก่ โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเปิดตัวโครงการ TRUST (Thailand Road Users Safety through Technology) อย่างเป็นทางการ เพื่อทดสอบแนวทางในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568

นำโดย ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร,  มร. ซูซุมุ มัตสึดะ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้, มร. ศรีนิวาสะ โปปุริ ผู้อำนวยการโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานโครงการกรุงเทพมหานคร, ศาสตราจารย์ ดร.มนูกิจ พานิชกุล รองอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ ​นายสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการใช้เทคโนโลยีมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่บนท้องถนน เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุและยกระดับความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย

โครงการ TRUST มีจุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน โดยถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ริเริ่มขึ้นจาก การประชุม Tateshina*¹ ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัทโตโยต้า ณ ประเทศญี่ปุ่น ในการประชุมดังกล่าว โตโยต้าได้เชิญผู้นำจากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความปลอดภัยบนท้องถนน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนสังคมสู่ “Vision Zero” หรือ เป้าหมายลดอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือศูนย์ในระดับโลก*1 Link : https://global.toyota/en/newsroom/corporate/39544702.html

รูปที่ 1: (ซ้าย) การประชุม Tateshina ที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นในกลุ่มของ TMF  และ (ขวา) รายชื่อผู้เข้าร่วมอนุกรรมการประชุม Tateshina

จากอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในประเทศไทย ประกอบกับความมุ่งมั่นของโตโยต้าที่ต้องการก้าวสู่การเป็น “Best in Town” มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ จึงได้ริเริ่ม โครงการ TRUST โดยผนึกความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วน เพื่อยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการแบ่งออกเป็นหลายระยะ โดยเน้นการนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์เพื่อระบุสาเหตุของอุบัติเหตุ ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้ใช้ถนน ยานพาหนะ ถนนและโครงสร้างพื้นฐาน

ความคิดริเริ่มที่สำคัญ: ระยะนำร่อง (เฟส 1) และการขยายผลสู่เฟส 2

โครงการทดลองระยะที่ 1 (เมษายน 2567 – มิถุนายน 2568)

ในระยะเริ่มต้นของโครงการ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ทดลองดำเนินงานในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา โดยใช้ ข้อมูลจากยานพาหนะของโตโยต้า (Probe Data) เพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ 5 จุดเสี่ยง ในอำเภอพนมสารคามและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ เช่น การเบรกกะทันหัน การเร่งเครื่องอย่างรวดเร็ว การเลี้ยวกระทันหัน

ผลการศึกษาในระยะแรกแสดงให้เห็นว่า Probe Data มีศักยภาพในการระบุจุดเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ยังคงมุ่งเน้นไปที่ยานพาหนะสี่ล้อเป็นหลัก ขณะที่อุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักเกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งยังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุมและพัฒนาวิธีการการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

รูปที่ 2: ตัวอย่างการวิเคราะห์ Probe Data จากรถยนต์

ระยะที่ 2 (พฤษภาคม 2568 – เมษายน 2570)

ในระยะที่ 2 ของโครงการ TRUST มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้จะขยายการใช้แหล่งข้อมูล และเครือข่ายความร่วมมือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและออกแบบมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่เป้าหมายหลักในระยะนี้คือ เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง เนื่องจากลักษณะการจราจรที่หนาแน่น และมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ครอบคลุมอย่างทั่วถึง

ในระยะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) จะเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ โดยให้ ข้อมูลอุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเสริมความแม่นยำในการวิเคราะห์ พร้อมนำไปสู่การพัฒนาแนวทางจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองอย่างแท้จริง

รูปที่ 3: ภาพพื้นที่ทดลองระยะ 2 –ถนนในเขตจตุจักร

ความสำเร็จของโครงการ TRUST เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน โดยบทบาทที่ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)  และแบ่งบทบาทที่ชัดเจน ดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร (BMA) – สนับสนุนด้านฐานข้อมูล, ภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV), และดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งเป็นผู้ผลักดันโครงการโดยรวม
  • โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) – พัฒนาศักยภาพ, สร้างเครือข่ายระดับโลก, และให้ข้อมูลเชิงลึกด้านความปลอดภัยระดับนานาชาติ
  • สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) – บริหารจัดการโครงการ, ให้การสนับสนุนทางเทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงกำกับดูแลด้านวิชาการ
  • โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) – ให้ข้อมูล probe data และองค์ความรู้จากโครงการ
  • โตโยต้าถนนสีขาว เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน มุ่งเน้นการรณรงค์ ส่งเสริม พัฒนาทักษะจากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ที่เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
  • มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) – สนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Probe Data, ข้อมูลที่บันทึกเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ และข้อมูลอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ยังได้รับการสนันสนุนข้อมูลจากพันธมิตร ได้แก่

  • บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) – ให้การสนับสนุนข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนในอดีตเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินโครงการและแนวทางการขยายผลในอนาคต

โครงการ TRUST จะเริ่มดำเนินการในดือนพฤษภาคม 2568 ถึง เดือนเมษายน 2570 (ระยะเวลา 2 ปี) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ความสำเร็จและข้อมูลเชิงลึกจากโครงการ TRUST จะถูกนำเสนอในเวทีนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาความปลอดภัยบนท้องถนนในระดับสากลต่อไป

มร. ซูซูมุ มัตสึดะ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ TRUST ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย โดยอาศัยการใช้ข้อมูลจากยานพาหนะร่วมกับการวิเคราะห์ขั้นสูง เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครให้ ปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะ ขยายรูปแบบโครงการนี้ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยในอนาคต วิสัยทัศน์สูงสุดของเราคือการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นศูนย์ ด้วยพลังของ ความร่วมมือ และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์”

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า "ความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นวาระสำคัญสำหรับกรุงเทพมหานคร และเราต้องดำเนินมาตรการอย่างจริงจังเพื่อลดอุบัติเหตุและรักษาชีวิตผู้คน การจำกัดความเร็ว, ส่งเสริมการสวมหมวกกันน็อกในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และการปรับปรุงสภาพถนน ล้วนเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้ท้องถนนของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น มาตรการเหล่านี้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการปกป้องผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

นอกเหนือจากนโยบาย เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น ปรับปรุงทางข้ามถนน และใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจร การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ผู้ขับขี่ และประชาชนผู้ใช้ทางเท้า หากเราร่วมมือกัน กรุงเทพมหานครจะกลายเป็นเมืองที่ปลอดภัยและน่าอยู่สำหรับทุกคน"

มร. ศรีนิวาสะ โปปุริ ผู้อำนวยการโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “เมืองต่างๆ จำเป็นต้องเร่งความพยายามในการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนอย่างเร่งด่วน ที่องค์การยูเอ็น-ฮาบิแทต เราเชื่อว่าการใช้ประโยชน์จากโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เมืองมีความปลอดภัยและครอบคลุมมากขึ้น เช่น ความเร็วของยานพาหนะ ปริมาณการจราจร ประเภทของยานพาหนะ และสถานการณ์เสี่ยงที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ

ศาสตราจารย์ ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "จากการดำเนินงานระยะแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา เราได้ใช้ข้อมูลจาก Probe Data ของยานพาหนะร่วมกับเทคโนโลยี AI ในการรวบรวมและวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ ควบคู่ไปกับวิธีการดั้งเดิมที่ใช้กันในการศึกษาการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร (RC - EXPAND) ซึ่งพบว่ามีข้อได้เปรียบหลายประการที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ หนึ่งในนั้นคือการมีข้อมูลที่ครอบคลุมระยะเวลานานกว่า ซึ่งแตกต่างจากการเก็บข้อมูลโดยมนุษย์ที่มักจำกัดอยู่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดอคติจากการประเมินของมนุษย์ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้ยังให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับจราจร เช่น ความเร็วของยานพาหนะ ปริมาณการจราจร ประเภทของยานพาหนะ และสถานการณ์เสี่ยงที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ"

"อย่างไรก็ตาม เรายังคงเผชิญกับความท้าทายบางประการในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้ใช้ข้อมูล อีกทั้งในระยะนี้ เรายังขาดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น"

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและความความคืบหน้าต่างๆ ของโครงการ TRUST กรุณาติดต่อ:

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation - TMF) อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

เกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation - TMF)

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2557 โดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (Toyota) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและอิสระยิ่งขึ้น มูลนิธิฯ แสดงถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้าต่อแนวคิด การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ การให้ความเคารพต่อผู้คน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่มี เพื่อสร้างระบบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการเดินทาง มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร สถาบันวิจัย และพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และแก้ไขปัญหาการเดินทางทั่วโลก

มร.อากิโอะ โตโยดะ ประธานมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ กล่าวไว้ว่า "TMF มุ่งสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก เพื่อช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม"

ที่ผ่านมา TMF ได้นำโครงการและความท้าทายด้านการเดินทางไปดำเนินงานในหลายประเทศ เช่น โครงการสาทรโมเดลและโครงการพระราม 4 โมเดลในประเทศไทย, โครงการ CATCH ในมาเลเซีย, STAMP Challenge ในอินเดีย, Sustainable Cities Challenge และ Mobility Unlimited Challenge ในระดับโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TMF และแนวทางการดำเนินงานได้ที่ www.toyotamobilityfoundation.org 

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ส่งมอบรถยนต์กว่า 60 คัน ให้กับท่าอากาศยานไทย เปิดประสบการณ์ Luxury Limousine ในสนามบินสุวรรณภูมิ ราคาเริ่มต้นที่ 1,000 บาท

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ส่งมอบรถยนต์จำนวน 60 คัน เพื่อใช้ในการให้บริการรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ AOT Limousine เดินหน้ายกระดับประสบการณ์การเดินทางสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ที่มาพร้อมความหรูหรา ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยขั้นสุด ครอบคลุมทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ระดับ Top-End Luxury อย่าง EQS 450+ AMG Dynamic จำนวน 20 คัน รถยนต์ Business Saloon เจเนอเรชันล่าสุด E 350 e Exclusive จำนวน 20 คัน และรถแวนระดับพรีเมียม Vito 119 CDI Tourer Pro จำนวน 20 คัน โดยมี มร. มาร์ทิน ชเวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) มร. คาย-อูเว่ ทรลเลนแบร์ก รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และ นายศุภวุฒิ จีรมนัสนาคร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ โมบิลิตี้  (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นผู้ส่งมอบให้กับ นายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ นายสุวิทัต วงศ์วิเชียร รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายการพาณิชย์)

มาสด้ามอบรางวัลผู้ชนะเลิศการแข่งขันกอล์ฟเยาวชน เตรียมเดินทางไปแข่งขันทัวร์นาเม้นต์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

มาสด้ามอบรางวัลผู้ชนะเลิศกอล์ฟเยาวชน โครงการ Mazda U.S. College PREP Junior Golf Championship 2025 ผลการแข่งขันปรากฏว่าเยาวชนที่ชนะเลิศอันดับหนึ่งในระดับ Middle School เป็นเยาวชนดาวรุ่งดวงใหม่จากประเทศไทยที่ผงาดคว้าแชมป์ไปครองได้ทั้งประเภทเยาวชนชายและหญิง คือ ด.ช. ภัคภาคิน เชษฐพงศ์พันธุ์ คว้าแชมป์ประเภทเยาวชนชาย และ ด.ญ. กิรณา บัตรพรรธนะ  คว้าแชมป์ประเภทเยาวชนหญิง ในขณะที่เยาวชนผู้ชนะเลิศในระดับ High School ได้แก่ เควิน ไคชิน เซีย จากประเทศจีน คว้าแชมป์ประเภทเยาวชนชาย และ แพสชั่น ซู จากประเทศสิงคโปร์ คว้าแชมป์ประเภทเยาวชนหญิง และที่สำคัญมีเยาวชนทั้งชายและหญิงจากประเทศไทยติดอันดับถึง 6 คน จากจำนวนทั้งหมด 16 คน พร้อมร่วมเดินทางไปแข่งขันทัวร์นาเม้นต์ใหญ่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฏาคมที่จะถึงนี้

อีซูซุเริ่มผลิตรถปิกอัพไฟฟ้า “อีซูซุ ดีแมคซ์ EV” รุ่นใหม่ในไทย  สำหรับประเทศหลักในยุโรป

มร. ชินสุเกะ มินามิ (Mr. Shinsuke Minami) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น (สำนักงานใหญ่เมืองโยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ) ประกาศเริ่มผลิต รถปิกอัพไฟฟ้า “อีซูซุ ดีแมคซ์ EV” ขนาด 1 ตัน รุ่นแรกของอีซูซุในประเทศไทย

Toyota Gazoo Racing Thailand 2025 พร้อมระเบิดความมันส์ทั้ง 5 สนาม มุ่งสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า มุ่งขยายฐานคนรักรถ และเพิ่มกลุ่มคนรักมอเตอร์สปอร์ตในประเทศไทย

มร. โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย นายพฤฒิรัตน์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ นายกราชยานยนต์สมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมแถลงข่าวการจัดกิจกรรม Toyota Gazoo Racing Thailand 2025 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ณ TOYOTA ALIVE ถ.บางนา-ตราด กม. 3

SAIC MOTOR CORPORATION ผนึกกำลังแบรนด์ในเครือ ภายใต้แนวคิด “ONE SAIC” ร่วมโชว์เทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ระดับโลก  ในงาน Shanghai Auto Show 2025

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทย ถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ของบริษัทแม่อย่าง SAIC MOTOR CORPORATION ผ่านนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลกในงาน Shanghai Auto Show 2025 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการแห่งชาติ โดยในปีนี้มาพร้อมแนวคิด “ONE SAIC” ซึ่งเป็นการรวมพลังของแบรนด์ในเครือกว่า 10 แบรนด์ชั้นนำระดับโลก นำเสนอเทคโนโลยีแห่งอนาคตสะท้อนวิสัยทัศน์ใหม่ “More than Auto – เหนือกว่าการเข้าใจรถ คือการเข้าใจผู้ใช้รถ” ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะที่ผู้ใช้รถในทั่วโลกมีโอกาสเข้าถึงโดยเท่าเทียมกัน และสร้างระบบนิเวศอัจฉริยะร่วมกัน

Please publish modules in offcanvas position.